|
|
หนูท้องขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Desmodium
styracifolium (Osbeck) Merr.
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ :
-
ชื่ออื่น :
หนูท้องขาว
(ตราด) รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา) ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง) ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี)
ลักษณะ : เจริญแตกกิ่งก้านสาขาในระดับใกล้ผิวดินแผ่คลุมดินยาว
0.5-1.5 เมตร ลำต้นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล
ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักมีสีม่วงแดงหรือน้ำตาล ด้านล่างที่ไม่ถูกแสงมีสีเขียว
และมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่นมาก ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-12.0 มิลลิเมตร
หลังใบมีขนขึ้นปกคลุมเป็นจำนวนมาก ใบด้านหน้าไม่มีขน ใบเป็นแบบขนนกมีใบย่อย
3 ใบ (trifoliate) และมีใบเดี่ยว(simple)ขึ้นปะปน ใบมีรูปร่างหลายแบบคือ
กลม (globose) ( PC 292, PC 241, PC 347) กลมแต่ปลายใบมีรอยเว้าตื้น (emerginate)
(PC 046) วงรีกว้าง (oval) (PC 369) รูปไข่กลับมียอดกว้างกว่าส่วนฐาน (obovate)
(PC 311, PC 288, PC 404, PC 416) ใบมีสีเขียวถึงเขียวเข้ม ใบบนสุดกว้าง
1.2-3.4 เซนติเมตร ยาว 1.4- 4.5 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 2.5-0.6 เซนติเมตร
ยาว 0.6 3.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร หูใบ (stipule)
สีน้ำตาลเข้ม ออกดอกที่ปลายยอด การออกดอกเป็นแบบ Indeterminate (ดอกบานและเจริญเป็นฝักที่โคนช่อดอกจนถึงปลายช่อดอก)
ดอกเป็นช่อกระจะ(raceme) รูปกรวย ช่อดอกยาว 3.5 - 7.5 เซนติเมตร มีดอกย่อย
16-42 ดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกกลาง (standard)
สีบานเย็นปลายกลีบสีม่วงอ่อน ส่วนกลีบดอกคู่ด้านข้าง (wing)
จะมีสีบานเย็นสด อับเรณู (anther) สีเหลือง 4 อัน
ก้านเกสรเพศผู้สีม่วงแดงเข้ม เกสรเพศเมีย (stigma) สีเขียวอ่อนออกเหลือง
ฝักยาว 0.5-1.8 เซนติเมตร กว้าง 1.8-3.0 มิลลิเมตร แต่ละฝักมีเมล็ด 1 - 5
เมล็ด ส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถหักออกเป็นแต่ละข้อได้
ออกดอกติดเมล็ดมากในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม
ประโยชน์ : เป็นอาหารสัตว์
โค กระบือ โดยตัดหรือปล่อยสัตว์แทะเล็ม
เกษตรกรในแถบภาคอีสานตัดเลี้ยงโคนมทำให้น้ำนมมี กลิ่นหอม ใช้เป็นสมุนไพร
ยาพื้นบ้านอีสานใช้รากหรือลำต้นต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกาย
น้ำสกัดทั้งต้นแห้งทำให้อัตราการบีบตัวของหัวใจเพิ่มขึ้น
และลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง (จิรายุพินและคณะ , 2542) |
|