พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 











 
 

หางหมาจอก

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Uraria crinita (L.) Desv. ex DC.
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น :  หางหมาจอก (สระบุรี) หญ้าตะขาบ (ราชบุรี) หญ้าหางแมว (สตูล) หางกระรอก (กรุงเทพฯ) เสลดพังพอนกะเหรี่ยง (กาญจนบุรี) หญ้าหางเสือ (เชียงใหม่) ขี้หนอน (กาฬสินธุ์) เหนียวหมา ( สุราษฎร์ธานี) กันตุยซาโม ( เขมร จันทบุรี)  
ลักษณะ : ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 30-120 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-10 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบย่อย 3-11 ใบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate-oblong) กว้าง 4.0-7.6 เซนติเมตร ยาว 8-13 เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสั้นมาก กระจายเล็กน้อยถึงปานกลาง ก้านใบสีเขียวแกมแดง เนื้อใบหยาบ ขอบใบเรียบ ช่อดอกกระจะ ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกย่อยเรียงอัดตัวกันแน่น กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ก้านดอกย่อยและกลีบเลี้ยงมีปุยขนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นฝักแบนและคอดเป็นข้อๆพับงอไปมา

ประโยชน์ :  อาหารสัตว์โค-กระบือ ยาพื้นบ้านอีสานใช้ราก ผสมรากแกลบหนู รากกาสามปีกใหญ่ รากกาสามปีกเล็ก และรากโมกมัน ต้มน้ำดื่ม แก้อาการทางประสาท ฝนน้ำปูนใสทา รักษาฝี ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ทั้งต้น ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย (จิรายุพิน และคณะ, 2542) รากฝนกับสุรา หรือน้ำมะนาว รับประทานและทาแก้พิษงูกัด (วุฒิ, 2540)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net