|
|
หางเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Flemingia stricta Roxb. ex
W.T. Aiton
วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae
ชื่อสามัญ :
-
ชื่ออื่น :
หางเสือ (ลำปาง)
ลักษณะ :
ไม้พุ่ม
ลำต้นตั้งตรงสูง 90 120 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate)
ใบย่อยบนสุดรูปรี (elliptic) ใบย่อยด้านข้างรูปรี
แต่ฐานใบข้างหนึ่งsเบี้ยวเอียง ใบย่อยบนสุดกว้าง 2.6 4.5 เซนติเมตร ยาว
8.3 11.5 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้าง กว้าง 3.1 4.4 เซนติเมตร ยาว 7.6
10.6 เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมปานกลาง ก้านใบรวมยาว
4.7 7.6 เซนติเมตร ก้านใบย่อยบนสุด ยาว 0.2 0.6 เซนติเมตร
ก้านใบย่อยด้านข้าง ยาว 0.2 0.4 เซนติเมตร หูใบรูปแถบเรียวยาว
ดอกช่อกระจะเชิงลด ออดดอกที่ยอดและซอกใบ มีดอกย่อย 22 46 ดอก
กลีบดอกรูปดอกถั่ว กลีบดอกส่วนกลาง (standard)
สีเขียวตองอ่อนมีริ้วสีม่วงแดงสลับ กลีบดอกคู่ด้านข้าง (wing)
สีม่วงแกมชมพู ส่วนกลีบดอกคู่ล่างสุด (keel) สีเขียวตองอ่อนมีริ้วม่วงแดง
ผลเป็นฝักรูปขอบขนานมีขนละเอียดสั้นๆปกคลุมหนาแน่นท ี่เปลือก
และมีริ้วสีม่วงแดงพาดที่ฝัก ยาว 1.2 1.5 เซนติเมตร แตกเป็น 2 ฝา มี 1
2 เมล็ด
ประโยชน์ : อาหารสัตว์
โค กระบือ แพะ สมุนไพร ยาพื้นบ้านอีสานใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับเลือดเสีย
สารสกัดน้ำจากทั้งต้นต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ใบและรากมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์
(จิรายุพันและคณะ , 2542) |
|