พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 










 
 

โผงเผง

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
  Senna hirsuta (L.) Irwin & Barneby ชื่อพ้อง  Cassia hirsuta  L.
วงศ์ : Fabaceae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น : โผงเผง (เชียงใหม่); ดับพิษ (นครศรีธรรมราช); รางจืดต้น (ปราจีนบุรี)
ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2.8 – 3.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง (erect) กลิ่นเหม็นเขียว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ (even-pinate) มี 4–5 คู่ คู่บนสุดมีขนาดใบใหญ่ คู่ล่างๆมีขนาดรองลงมา รูปร่างใบรูปไข่ (ovate) รูปขอบขนาน (oblong) ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate – oblong) ใบกว้าง 1.7 – 4.3 เซนติเมตร ยาว 3.3 – 10.8 เซ็นติเมตร ก้านใบยาว 1.7 – 4.3 มีขนละเอียดยาว 1.0 – 1.5 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่นทั้งสองด้าน ออกดอกที่ซอกใบและยอด มีดอกย่อย 2 – 4 ดอก กลีบดอกสีเหลืองสด อับเรณู (anther) สีน้ำตาลแกมเหลือง ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) สีเขียวอ่อน ก้านชูยอดเกสรเพศเมีย มีปุยขนสีขาวยาว ผลเป็นฝักโค้งเล็กน้อย มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น เมล็ดรูปร่างแบนขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร จำนวนมาก
ประโยชน์ :   ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ใบผสมใบหรือรากขางครั่ง บดเป็นผงละเอียด ทำเป็นยาลูกกลอน แก้ไข้ ชาวเขาเผ่าลีซอ ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำให้สตรีหลังคลอดดื่ม ยาพื้นบ้านใช้รากฝนน้ำกินแก้เบื่อเมา (วงศ์สถิต และคณะ, 2539)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net