พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 










 
 

ถั่วเสี้ยนป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
  Pueraria phaseoloides (Roxb.) Benth. var. subspicata (Benth.) Maesen
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ
: -

ชื่ออื่น : ถั่วเสี้ยนป่า (อ่างทอง) ผักผีด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3.8 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบบนสุดกว้าง 3.8 – 6.3 เซนติเมตร ยาว 8.5 – 10.4 เซนติเมตร โคนใบบนเป็นเงี่ยงยื่นออกสองข้าง ใบข้างทั้งสองใบกว้าง 4.7 – 6.5 เซนติเมตร ยาว 6.9 – 8.9 เซนติเมตร ใบข้างโคนใบเบี้ยว มีเงี่ยงยื่นออกข้างเดียว หน้าใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมปานกลาง หลังใบมีปุยขนสีขาวยาวกว่าหน้าใบปกคลุมหนาแน่นมาก ก้านใบรวมมีหูใบสีเขียวมีขนมาก กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านใบย่อยหูใบเป็นเส้นเรียวเล็กปลายแหลมยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวมีแถบสีม่วงตรงกลางกลีบ รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแคบ เมื่อฝักแก่จะแตกและบิดเป็นเกลียว ออกดอกเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
ประโยชน์ :   อาหารสัตว์ กระบือ ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ใบหรือรากแห้งผสมใบโผงเผงแห้งบดเป็นผง ทำยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net