ตาลส้านดอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Desmodium renifolium
var. renifolium (L.) Schindl.
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น :
ตาลส้านดอย (เชียงใหม่) เล็บมือนาง (นครราชสีมา)
ลักษณะ :
ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาเลื้อยทอดนอนไปตามพื้น (prostrate) ยาว 80-145
เซนติเมตร ลำต้นไม่มีขนมีสีเขียวถึงเขียวอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น
2.5-4.5 มิลลิเมตร ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว (simple)
ปลายใบมีรอยเว้าตื้น (emarginate) เช่นเดียวกับโคนใบ รูปร่างใบคล้ายรูปพัด
ด้านกว้างของใบจะกว้างกว่าด้านยาว คือ กว้าง 3.8-6.2 เซนติเมตร ยาว 1.9-3.2
เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire) หน้าใบและหลังใบไม่มีขน
ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่มีสีเขียวค่อนข้างเข้มถึงเขียวเข้ม ก้านใบยาว
1.5-2.7เซนติเมตร ออกดอกที่ยอดและตาข้าง กลีบเลี้ยงสีขาวออกเหลืองอ่อนๆ
กลีบดอกมีสีขาวครีม อับเรณูและเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน ยาว
1.6-3.0 เซนติเมตร หักได้เป็นข้อๆ มี 2-6 ข้อ ออกดออกติดเมล็ดตลอดทั้งปี
ประโยชน์ : อาหารสัตว์
โค-กระบือ |