|
|
ชุมเห็ดเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Senna occidentalis
(L.) Link
วงศ์ : Leguminosae-Caecalpinodeae
ชื่อสามัญ :
coffee senna,
Coffeeweed
ชื่ออื่น :
-
ขี้เหล็กเทศ,
ขี้เหล็กเผือก, ผักเห็ด, ลับมืนน้อย, หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) ; ขี้เหล็กผี,
ชุมเห็ดเล็ก, พรมดาน (ภาคกลาง) ; ผักจิ๊ด (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ
:
เป็นไม้พุ่ม (shrub)
อายุหลายปี ต้นสูง 132-154 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 10.4-12.74
มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมม่วงไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even-pinnate)
ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอก (ovate-lanceolate) ปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 8.1-9.7
เซนติเมตร กว้าง 3.1-4.7 เซนติเมตร ผิวใบสีเขียวเข้มค่อนข้างนุ่ม หน้าใบ
หลังใบไม่มีขน ขอบใบแบบขนครุย (ciliate) และมีสีม่วงแดง
หลังใบเห็นเส้นกลางใบสีม่วงแดงนูนขึ้นชัดเจน ก้านใบด้านหน้ามีสีม่วงแดง
ด้านหลังสีเขียวมีสีม่วงแดงประปราย ที่โคนก้านใบด้านในมีต่อมสีแดงเข้ม
หูใบคล้ายโคนก้านใบหุ้มลำต้น (sheathing) เริ่มออกดอกประมาณเดือน พฤษภาคม
ตลอดถึงเดือน มกราคม ดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง ช่อดอกแบบแยกแขนง (panicle)
ช่อดอกยาว 5.26-12.62 เซนติเมตร ตรงโคนช่อดอกย่อยมีต่อมสีแดงเข้ม ดอกย่อยมี
12-22 ดอกต่อช่อ กลีบดอก (petal) สีเหลือง
กลีบบนค่อนข้างใหญ่กว่ากลีบล่างอีก 2 คู่ อับเรณู (anther) สีน้ำตาลอ่อน
ฝักมี 1-5 ฝักต่อช่อ รูปฝักแบบขอบขนาดแบน ฝักยาว 10.9-12.33 เซนติเมตร
กว้าง 0.74-0.84 เซนติเมตร รอยแบ่งระหว่างข้อไม่ชัดเจน
ฝักแก่สีน้ำตาลและไม่แตก
ประโยชน์ : ส่วนต้นใบเป็นแหล่งอาหารสัตว์สำหรับโค
กระบือ แกะ เป็นพืชสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ใบ เข้าตำรับยาเขียว แก้ไข้
แก้ลมจุกเสียด เป็นยาถ่าย เกลื่อนฝี ทารักษาเกลื่อน ผิวหนังพุพอง
ตำพอกแก้ปวดศรีษะ ปวดหัว บวม ยาพื้นบ้าน ใช้รากฝนน้ำหยอดรักษาแผลในหู
น้ำต้มรากมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อท้องเสีย เช่น Salmonella
สารสกัดใบและเปลือกด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อกลากเกลื้อนได้เล็กน้อย(วงศ์สถิตย์และคณะ,2539) |
|