|
|
ไชหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Droogmansia
godefroyana (Kuntze) Schindl.
วงศ์ :
Papilionoideae
ชื่อสามัญ :
-
ชื่ออื่น :
ไชหิน (สุรินทร์) การะ (ส่วย สุรินทร์) เรียะ เรียง (เขมร สุรินทร์)
ต่างหมอง ไม้ไชหิน (ชัยภูมิ) ตองหมอง (อุบลราชธานี)
ลักษณะ
:
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 2-3 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.3-5.4
เซนติเมตร หลังใบมีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่นมาก ใบด้านหน้าไม่มีขน
การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบใบเดี่ยว (simple) ใบมีรูปร่างรูปไข่แกมใบหอก
(ovate-lanceolate) มีสีเขียวค่อนข้างเข้มถึงเขียวเข้ม ใบกว้าง 6.1-8.9
เซนติเมตร ยาว 12.3-18.4 เซนติเมตร ก้านใบ ยาว 1.7-2.9 เซนติเมตร
ก้านใบและกิ่งมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมหนาแน่นมาก ใบค่อนข้างหนา
ออกดอกที่ตาข้าง และที่ปลายยอดกิ่ง การออกดอกเป็นแบบ Indeterminate
ช่อดอกยาว 92-114.8 เซนติเมตร กลีบดอกด้านหน้ามีสีม่วงบานเย็นหรือม่วงแดง
ด้านหลังกลีบดอกสีม่วงหม่นปนขาว ฝักยาว 3.9-4.5 เซนติเมตร กว้าง 0.5-0.7
เซนติเมตร แต่ละฝักมีเมล็ด 2-5 เมล็ด ปลายฝักมีตะของอ
ประโยชน์ : เป็นอาหารสัตว์
กระบือ สมุนไพร ยาพื้นบ้านใช้รากต้มน้ำดื่มแก้อาเจียนมีเลือดออกทั้ง
ทางปากและทวารหนัก (วงศ์สถิตย์ และคณะ , 2543) |
|