|
|
เชียดน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Desmodium
heterocarpon (L.) ssp. angustifolium (Craib) Ohashi
วงศ์ :
Papilionoideae
ชื่อสามัญ :
-
ชื่ออื่น :
เชียดน้อย (นครราชสีมา) ปีกตั๊กแตน (ปราจีนบุรี)
ลักษณะ
:
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรงถึงกึ่งตั้ง สูง 50-100 เซนติเมตร
ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4-4.7 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 1 ใบ
(simple) และ 3 ใบ (trifoliate) ใบรูป วงรีแกมขอบขนาน ใบบนกว้าง 1.6-1.9
เซนติเมตร ยาว 3.0 - 5.5 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 0.7-1.0 เซนติเมตร ยาว
2.5-3.7 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.2-2.7 เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน
หลังใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบมีสีเขียวถึงค่อนข้างเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ
(entire) ออกดอกที่ซอกใบและที่ปลายยอด กลีบดอกกลาง (standard)
มีสีชมพูอมม่วง กลีบดอกคู่ล่าง keel สีชมพูอ่อนๆออกม่วง กลีบดอกคู่ข้าง
(wing) สีบานเย็น ก้านและยอดเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู
(anther) สีเหลืองอ่อน ช่อดอกยาว 7-16 เซนติเมตร มีดอกย่อย 24-48 ดอก
ฝักรูปขอบขนาน คอดเป็นข้อๆ 1-5 ข้อ
ออกดอกติดเมล็ดมากช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ประโยชน์ : เป็นอาหารสัตว์
ใช้เป็นสมุนไพร ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้รากผสมรากมะเดื่อดินและผงปวกหาด
ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งถ่ายพยาธิ (จิรายุพิน และคณะ,
2542) |
|