พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 

















 
 

ขางครั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Dunbaria bella  L.
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่อสามัญ
:
 
ชื่ออื่น : ขางครั่ง (ลำพูน) ; ดอกครั่ง (เชียงใหม่) ; เถาครั่ง (เลย)
ลักษณะ
:
เป็นพืชอายุค้างปี ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน (twinning) ลำต้นยาวประมาณ 3-5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 2.83-9.47 มิลลิเมตร ใบมี 3 ใบย่อย (trifoliate-pinnately) รูปร่างใบย่อยแบบขอบขนาน (oblong) ใบกลางปลายใบมน โคนใบกลม (rounded) ใบข้างขอบใบด้านล่างเบี้ยว (unequal) ความยาวใบกลาง 5.94-8.88 เซนติเมตร กว้าง 2.05-2.73 เซนติเมตร ใบข้างยาว 5.11-6.61 เซนติเมตร กว้าง 1.8-2.14 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 1.01-2.91 เซนติเมตร ก้านใบข้างสั้นมากยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น ผิวใบนุ่ม (tender) สีใบด้านหน้าเขียวอมเหลืองอ่อน ถึงเขียวเข้ม ค่อนข้างมัน สีใบด้านหลังเขียวอมเหลืองเข้มกว่าด้านหน้าและผิวด้านเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ด้านหลังนูนขึ้นเป็นสันเล็กน้อย เส้นใบแตกแบบขนนก (pinnate) ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ก้านใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลมีขนละเอียดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรคลุมอยู่มาก หูใบแหลม (filiform) สั้น 0.5-1 มิลลิเมตร ออกดอกเดือน พฤศจิกายน – มกราคม ดอกออกที่ตาข้างช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ยาว 6.43-14.29 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว จำนวน 6-35 ดอกต่อช่อ เกิดเรียงสลับรอบแกนช่อดอก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกด้านในสีม่วงอมแดงเข้ม ผลเป็นฝักยาวค่อนข้างแบน มีขนคลุม
ประโยชน์ :  
 เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ ยาพื้นบ้าน ล้านนา ใช้ใบหรือรากผสมใบโผงเผง บดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)
 

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net