|
|
เกล็ดปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Phyllodium
elegans (Lour.) Desv.
วงศ์ :
Leguminosae-caecalpinodeae
ชื่อสามัญ :
ชื่ออื่น :
เกล็ดปลาหมอ (บุรีรัมย์) กาสามปีกกลาง (สระบุรี)
(ปราจีนบุรี);หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ,ภาคใต้); หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป :
ไม้พุ่ม
ลำต้นตั้งตรงสูง 1.1 1.6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11.7 16.2
มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบบนสุดรูปไข่
(ovate) กว้าง 5.2 - 7.6 เซนติเมตร ยาว 9.6 - 14.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.5
- 4.1 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างรูปรีเบี้ยว กว้าง 2.9 - 4.4 เซนติเมตร ยาว
4.6 - 7.1 เซนติเมตร ก้านใบย่อยด้านข้างสั้นมาก คือ 1 - 2 มิลลิเมตร
หลังใบมีขนปกคลุมหนาแน่นมากกว่าหน้าใบ
เช่นเดียวกับก้านใบและฝักมีขนปกคลุมหนาแน่นมาก ออกดอกที่ยอดและซอกใบ
ช่อดอกรวมยาว 27.9 - 4.7 เซนติเมตร
ช่อดอกย่อยมีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลาประกบหุ้มไว้ 2 ใบ
ใบประดับทั้งสองกว้าง 1.1 1.6 เซนติเมตร ยาว 1.5 2.0 เซนติเมตร
กลีบดอกสีขาวนวล อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อน ก้านเกสรเพศผู้ (filament)
สีขาวนวล ส่วนเกสรตัวเมียและก้านเกสรมีสีขาวนวลออกเขียวอ่อน
กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนออกเหลือง มีขนสั้นๆจำนวนมาก ผลเป็นฝักแบนยาว 1 1.5
เซนติเมตร กว้าง 3 - 4 มิลลิเมตร หักได้เป็นข้อๆ ฝักมี 1 - 4 ข้อ
ประโยชน์ : อาหารสัตว์
โค กระบือ เป็นพืชสมุนไพร ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับ (อาการผิดปกติของตับ)
ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีกใหญ่ รากโมกมันและรากหางหมาจอก
ต้มน้ำดื่มแก้คุณไสย (อาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่ง ร้องไห้) (วงศ์สถิตย์
และคณะ, 2543) |
|