กระดูกอึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Dicerma biarticulatum (L.) DC
วงศ์ :
Leguminosae-caecalpinodeae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น :
กระดูกอึ่ง
(จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป :
การเจริญเติบโตลำต้นกึ่งตั้ง
สูง 40-50 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 3.0-7.2 มิลลิเมตร
ลำต้นและกิ่งมีสีเขียวปนน้ำตาลแดง มีปุยขนสีขาวสั้นๆปกคลุมหนาแน่น
ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) รูปร่างใบแบบขอบขนานแกมรูปไข่กลับ
(obovate-oblong) ใบบนสุดกว้าง 0.8-1.0 เซนติเมตร ยาว 2.0-2.5 เซนติเมตร
ใบข้างกว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร ยาว 1.8-2.2 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.7-1.0
เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน
หลังใบมีขนสั้นๆจำนวนมากสังเกตได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย ขอบใบมีขนครุย
(ciliate) หูใบ (stipule) มีสีน้ำตาลแดง ออกดอกที่ปลายยอด และตาข้าง
กลีบดอกสีชมพูอ่อนแกมม่วง ช่อดอกยาว 10.8-14.1 เซนติเมตร
ผลเป็นฝักแบนคอดหักเป็นข้อๆมี 1-2 ข้อ ฝักมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น
เมล็ดมีขนาดกว้าง 2.9-4.3 มิลลิเมตร ยาว 4.6-6.6 มิลลิเมตร หนา 1.3-1.6
มิลลิเมตร ในพื้นที่ภาคใต้ออกดอกติดเมล็ดช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
ประโยชน์ : เป็นอาหารสัตว์
กระบือ |