กาญจณิการ์
ชื่อพฤกษศาสตร์: Santisukia pagetii (Craib)
Brummitt
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : แคขาว ลั่นทมเขา
ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร
ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง
แน่นทึบ ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นดียวปลายคี่
เรียงเป็นวงรอบกิ่ง ใบย่อย 5-10 คู่
รูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน
เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบส่วนบนมักจะมีรอยจักตื้นๆ
ดอก ใหญ่ จำนวนมาก ออกเป็นช่อยาวแตกแขนง
แขนงช่อดอกแตกเป็นวงรอบแกนช่อ
กลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ส่วนบนแยกเป็น 5 แฉกสั้นๆ ภายนอกมีตุ่มทั่วไป
กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแตร ปลายผายออกเป็น 5
กลีบ สีขาว หรือ สีขาวปนม่วงอ่อน
ปากหลอดสีเหลืองอ่อน
ผลเป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ปลายและโคนรี
ผนังมีตุ่มกระจัดกระจายทั่วไป เมล็ด จำนวนมาก
กลมแบน มีปีกบางโปร่งทางด้านข้างทั้งสองด้าน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา :
พบเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย
ตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีลงมาถึงเพชรบุรี
ขึ้นทั่วไปในป่าผลัดใบ
ตามซอกหินของภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง
ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
สถานภาพ : พืชถิ่นเดียว
|