แคสันติสุข
ชื่อพฤกษศาสตร์: Santisukia kerrii (Barnett &
Sandwith) Brummitt
วงศ์ : BIGNONACEAE
ชื่ออื่น : แคผู้
ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ แตกกิ่งต่ำระเกะระกะ
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเป็นวงรอบกิ่ง วงละ
4 ช่อใบ ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน
ขอบใบจักมนหรือเกือบเรียบ ดอกใหญ่
ออกเป็นช่อแตกแขนงตามปลายกิ่ง
กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง ขอบกลีบย่นมาก
ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก โคนและปลายแหลม
ตามผนังมีตุ่มเล็กๆ หนาแน่น เมื่อแห้งแตกเป็น
2 ซีก
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :
พบในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ขอนแก่น
ชอบขึ้นบนภูเขาหินปูนที่แห้งแล้งในป่าเบญจพรรณ
หรือป่าละเมาะโปร่ง ระดับความสูง 50-200 เมตร
ออกดอกและผลระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม
สถานภาพ : พืชถิ่นเดียว
และพืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์
|