ทุเรียนป่า
ชื่อพฤกษศาสตร์: Durio mansoni
(Gamble) Bakh.
วงศ์ : BOMBACACEAE
ชื่ออื่น : ทุเรียนเถื่อน
ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน
ปลายแหลมยาว โคนใบมน
แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ด้านล่างมีเกล็ดสีเงินอมเหลืองหนาแน่น
ดอกเป็นช่อแตกแขนงสั้น เป็นกลุ่มๆ ตามกิ่ง
กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง ส่วนบนแยกเป็น
5 แฉก มีเกล็ดสีเงินปกลุม กลีบดอก 5 กลีบ
แยกกัน รูปไข่กลับ สีแดง ร่วงง่าย
เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดกันเป็นหลอด
ส่วนบนแยกเป็น 5 มัด
แต่ละมัดมีกลุ่มเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลกลม
ผิวมีหนามแหลมยาวทั่วไปแบบทุเรียนบ้าน
เมื่อแก่จะไม่แตกออก เมล็ดใหญ่
มีเนื้อนุ่มบางๆ หุ้ม
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จันทบุรี) และภาคใต้
(ระนอง, พังงา) ของไทย ต่างประเทศพบที่พม่า
ขึ้นในป่าดิบชื้นบนภูเขา ระดับความสูง 100-800
เมตร ออกดอกและผลเดือน กุมภาพันธ์ -เมษายน
สถานภาพ : พืชหายาก
|