แก้วเจ้าจอม
Guaiacum officinale
L., ZYGOPHYLLACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้น สูง 10-15
ม. เปลือกต้นสีเทาเข้ม
กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มๆ
ทั่วไป
กิ่งอ่อนค่อนข้างแบน ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
มีใบย่อย 2-3 คู่
เรียงตรงข้าม
แกนกลางใบประกอบยาว 1-1.5
ซม. ก้านใบประกอบยาว 0.5-1
ซม. ใบย่อยไม่มีก้าน
รูปไข่กลับ รูปไข่กว้าง
หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย
ใบย่อยคู่ปลายกว้าง 1.8-2
ซม. ยาว 3.2-3.5 ซม.
ใบย่อยคู่ที่อยู่ตอนโคนกว้าง
1.2-1.5 ซม. ยาว 2.5-2.7 ซม. ปลายมน
โคนสอบ ขอบเรียบ
แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ด้านล่างสีอ่อนกว่า
มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน
หูใบและใบประดับเล็ก
ร่วงง่าย ดอกเดี่ยว
ออกเป็นกระจุกที่ยอด 3-4
ดอก
สีฟ้าอมม่วงและจะซีดลงเมื่อใกล้โรย
ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม.
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่
โคนติดกันเล็กน้อย
ร่วงง่าย มีขนประปราย
กลีบดอก 5 กลีบ
รูปรีหรือรูปไข่
กว้างประมาณ 1 ซม.
ยาวประมาณ 2 ซม.
เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกกัน
เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น
5 แฉก ผลแห้งแตก
รูปหัวใจกลับ มีครีบ 2
ข้าง สีเหลืองหรือสีส้ม
กว้างประมาณ 1.2 ซม.
ยาวประมาณ 1.8 ซม.
ก้านผลยาว 1.5-3 ซม. มี 1-2
เมล็ด เมล็ดรูปรี
สีน้ำตาล
ถิ่นกำเนิด :
ทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดิส
การกระจายพันธุ์ :
-
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: -
สภาพนิเวศน์ : -
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.