กระวาน
Amomum testaceum Ridl., ZINGIBERACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 ม. กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6-15 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอก 1-3 ดอก ปลายกลีบเลี้ยงมี 3 หยัก กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม


ถิ่นกำเนิด : พืชแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : พบขึ้นอยู่ในป่าแถบเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และในป่าทางตอนใต้ของอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ลงไปถึงภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในที่ที่มีความชื้นสูงมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กระวานจากประเทศไทยเป็นที่รู้จักของชาวยุโรปมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.