ปอกระเจาฝักกลม
Corchorus capsularis
L., TILIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ล้มลุกปีเดียว
ลำต้นยาวเรียว สูง 2.5-4 ม.
สีเขียว เขียวอ่อน
หรือแดงเข้ม
มีทั้งแตกกิ่งและไม่แตกกิ่งตามลักษณะของพันธุ์
ใบเดี่ยวเรียงสลับ
กว้าง 0.8-5.5 ซม. ยาว 4-14 ซม.
ปลายแหลม โคนมน
ขอบจักฟันเลื่อย
จักสุดท้ายทั้ง 2
ซึ่งอยู่ที่โคนใบเป็นเส้นยาวเรียว
ใบอ่อนมีขนตามเส้นใบ
ก้านใบมีขน ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น
ออกตรงข้ามกับใบ
กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง
รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
มี 2-5 ช่อง ผลกลมป้อม
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.4
ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 5 ซีก
ภายในไม่มีผนังกั้นตามขวาง
เปลือกย่นเป็นตุ่มๆ
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
พม่า เวียดนาม
มลายูภาคใต้
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: เชียงใหม่, เชียงราย,
กาญจนบุรี, อ่างทอง,
กรุงเทพมหานคร,
ปราจีนบุรี, ชลบุรี,
พังงา
สภาพนิเวศน์ :
ปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำในภาคกลางและภาคตะวันออก
ขึ้นในบริเวณที่มีความชื้นสูง
ทนทานน้ำท่วมได้ดี
เวลาออกดอก :
ออกดอกและติดผลระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
ในประเทศไทยเริ่มปลูกตั้งแต่
พ.ศ. 2483
โดยกรมเกษตรและการประมง
(ชื่อในขณะนั้น)
ได้รณรงค์ส่งเสริมพื้นที่การปลูกที่สุโขทัยบางส่วน
และตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาจนถึงพระนครศรีอยุธยา
สุพรรณบุรี
เพื่อเพิ่มพูนรายได้และใช้เป็นวัตถุดิบในการทอกระสอบ
โดยขั้นแรกได้ใช้พันธุ์พื้นเมือง
คือ พันธุ์อยุธยา
และพันธุ์พม่า
เพื่อผลิตเส้นใยป้อนโรงงานทอกระสอบซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งขึ้น
ตั้งแต่ พ.ศ. 2484
เป็นต้นมาได้มีหน่วยงานราชการและเอกชนนำเมล็ดพันธุ์ปอกระเจาจากต่างประเทศเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ได้ดำเนินการทดลองและขยายพื้นที่การผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดหนองคาย
สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์
และอุบลราชธานี ต่อมาใน
พ.ศ. 2511
รัฐบาลได้กำหนดให้ปอกระเจาเป็นพืชเศรษฐกิจ
ปัจจุบันมีการปลูกปอกระเจาตามริมฝั่งน้ำของบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนหลายจังหวัด
แต่พื้นที่ปลูกลดน้อยลง
เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงในขณะที่ราคาและผลผลิตขึ้นลงไม่แน่นอนในแต่ละปี
เกษตรกรจึงหันไปสนใจพืชอื่นที่ให้รายได้ดีกว่า
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen,
K., eds. 1993. Flora of Thailand (Vol.6: 1). Bangkok: The
Rumthai Press.