กระทุ่มนา
Mitragyna diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil., RUBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีที่ค่อนข้างกว้างเกือบกลม กว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายมน โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.6-1.3 ซม. หูใบระหว่างก้านใบ 1 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ ยาว 0.5-1.3 ซม. ปรากฎชัดตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น จำนวนมาก ออกตามปลายกิ่ง มีใบประดับขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายใบแซมห่างๆ บริเวณส่วนล่างของช่อ แต่ละช่อเมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็ก ไม่มีก้านดอก กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงเล็กมาก ติดกันคล้ายรูปถ้วย ขอบตัด กลีบดอกสีนวล ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีก้านเกสรเพศเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผลแห้งแตก รูปไข่ ขนาดเล็ก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มณฑลยูนนานของจีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นที่ค่อนข้างโปร่ง ใกล้น้ำและตามทุ่งนาทั่วไป


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.