หัวร้อยรู


ชื่อพื้นเมือง : กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี), ดาลูปูตาลิมา (มลายู-ภาคใต้), ปุมเป้า (ตราด), ร้อยรู (ปัตตานี), หัวร้อยรู (ภาคกลาง)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnophytum formicarum Jack


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสามัญ : Sea Mistletoe, Baboon's Head, Duck's Gizzard


ลักษณะ : ไม้พุ่มอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลำต้นสูง 30-50 ซม. โคนโป่งออก สีน้ำตาล เนื้อหนาคล้ายอวบน้ำ ภายในเป็นโพรงและมีช่องทะลุติดต่อถึงกันซึ่งเป็นที่อาศัยของมด ผิวด้านนอกเป็นมัน ใบหนา รูปรี ปลายป้าน ดอกออกเดี่ยวๆ แต่มักรวมกันเป็นกระจุกและอยู่รอบข้อ ขนาดเล็ก ไม่มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง ผลรูปรี สีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ฉ่ำน้ำ


ประโยชน์ : ลำต้นส่วนที่โป่งออก เมื่อนำมาตำแล้วใช้พอกแก้ปวดศีรษะ


โทษ : -