กระทุ่ม


ชื่อพื้นเมือง : กระทุ่ม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กระทุ่มบก (กรุงเทพมหานคร), ตะกู (สุโขทัย, จันทบุรี, นครศรีธรรมราช), ตะโกส้ม (ชัยภูมิ, ชลบุรี), ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้), ตุ้มหลวง ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มเนี่ยง (ภาคเหนือ), ทุ่มพราย (ขอนแก่น), กรองประหยัน (ยะลา), กว๋าง (ลาว), โกหว่า (ตรัง), แคแสง (ชลบุรี), ตะโกใหญ่ (ตราด), ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปาแย (มลายู-ปัตตานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich ex Walp.


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสามัญ : Wild Cinchona


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สูง 15-30 ม. กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ ปลายแหลม หูใบระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวๆ ตามปลายกิ่ง กลม สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ติดกันเป็นหลอดยาว ผลเป็นผลรวม อุ้มน้ำ เมล็ดเล็ก


ประโยชน์ : ในอินเดียใช้เปลือกกระทุ่มต้มกิน แก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก ผลใช้เป็นยาฝาดสมานในโรคท้องร่วง เนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่อยู่ในร่ม และทำเยื่อกระดาษได้


โทษ : -