กูดจักเข็บ
Lepisorus scolopendrium
(Ham. ex D. Don) Tagawa, POLYPODIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: เฟิร์น
เหง้าทอดขนาน
มีเกล็ดเป็นแผ่นบางสีน้ำตาลแน่น
เกล็ดกว้างประมาณ 2 มม.
ยาวประมาณ 7 มม.
ปลายเรียวแหลม ใบเดี่ยว
ติดถี่ตามลำต้น
ขนาดและรูปร่างของแผ่นใบแตกต่างกัน
ใบรูปแถบแกมรูปใบหอกแคบ
กว้างประมาณ 3.5 ซม.
ยาวประมาณ 40 ซม.
ส่วนกว้างที่สุดของแผ่นใบอยู่ใกล้โคน
ปลายและโคนค่อยๆ
เรียวเล็กลง
ขอบเรียบหรือเว้าเป็นคลื่น
แผ่นใบบาง สีเขียวอ่อน
เส้นกลางใบเห็นชัดทั้ง 2
ด้าน เส้นใบเป็นร่างแห
มีเส้นสั้นภายในช่องร่างแห
ก้านใบสั้นเห็นไม่ชัดเจนหรืออาจจะยาวได้ถึง
2 ซม. กลุ่มอับสปอร์รูปกลมถึงรูปขอบขนาน
ขนาดใหญ่ถึง 4 มม.
อยู่บนเส้นใบที่สานเป็นร่างแห
เรียงเป็นแถว 2
ข้างของขอบใบ
ที่โคนของกลุ่มอับสปอร์ยกระดับทำให้เห็นเป็นรอยบุ๋มทางด้านบนของใบ
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
แถบเทือกเขาหิมาลัย
ทิเบต
ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
พม่าตอนเหนือ
และภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นปนกับมอสส์บนต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
1,000-2,000 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.