กะฉอดไข่
Cheilanthes belangeri (Bory) C. Chr., PARKERIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมันยาว 2-3 มม. ใบออกรวมกันเป็นกระจุก ตอนล่างเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ตอนบนขอบใบย่อยหยักเว้าจนเกือบแยกเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบกว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. สีม่วงแดงถึงดำเป็นมัน มีร่องทางด้านบน โคนก้านใบมีเกล็ดประปราย ใบย่อยชั้นที่ 1 มีได้มากกว่า 15 คู่ แต่ละคู่จะเว้นช่วงพอเหมาะไม่มีเหลื่อมทับกัน ใบย่อยคู่ล่างสุดใหญ่ที่สุด กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม. รูปขอบขนานกึ่งรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม โคนสอบ มีก้านใบสั้นๆ ในใบที่อยู่ตอนล่าง ใบย่อยตอนกลางรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. ใบย่อยชั้นที่ 2 รูปขอบขนาน ปลายมนและมีหยักเว้าไม่แน่นอน โคนเฉียงกึ่งตัดหรือสอบป้าน แผ่นใบสีเขียวอมเหลือง บาง เส้นใบมองเห็นไม่ชัด เป็นแบบอิสระและแยกสาขาเป็นคู่หลายครั้งในส่วนที่เว้าหรือในใบย่อยชั้นที่ 2 ที่มีขนาดใหญ่ กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวทางด้านข้างของส่วนที่เว้าหรือขอบใบย่อยชั้นที่ 2 เรียงตัวขนานกับขอบใบแต่ขาดเป็นช่วงๆ ตามรอยหยักเว้าของใบ เมื่อใบยังอ่อนมีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ ซึ่งเกิดจากขอบใบพับมาคลุมกลุ่มอับสปอร์เอาไว้


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ตอนเหนือของอินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนพื้นดินตามทางเดินหรือบนก้อนหินที่ชื้น ในบริเวณค่อนข้างร่มถึงกลางแจ้ง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.