กระพี้จั่น
Millettia brandisiana
Kurz, LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ
สูง 8-20 ม.
เปลือกค่อนข้างเรียบ
สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงสลับ
แกนกลางใบประกอบยาว 10-20
ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-7 ซม.
โคนก้านบวม มักมีสีคล้ำ
ใบย่อย 6-8 คู่
เรียงตรงข้าม
ใบอ่อนมีขนประปราย
ขนจะร่วงไปบ้างเมื่อใบแก่
ใบย่อยรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
กว้าง 0.8-1.7 ซม. ยาว 2.5-7 ซม.
ปลายแหลมหรือมน
โคนมนหรือแหลม
เบี้ยวเล็กน้อย
ขอบเรียบ
แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม
ด้านล่างสีจางกว่า
ใบแก่เกลี้ยงหรือมีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง
ก้านใบย่อยยาว 2-3 มม. ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งและด้านข้างของกิ่ง
ยาว 7-22 ซม. แตกแขนง
ค่อนข้างโปร่ง
เมื่อยังอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองประปราย
แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก
ก้านดอกยาว 2-3 มม.
กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ
ติดกันคล้ายรูประฆัง
ยาวประมาณ 5 มม.
ส่วนบนแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม
5 กลีบ
กลีบดอกสีม่วงหรือม่วงอมชมพู
ยาว 0.8-1.1 ซม.
มีขนาดและรูปทรงแตกต่างกัน
เกสรเพศผู้ 10 อัน
ก้านชูอับเรณู 9
อันติดกันเป็นหลอดยาว
ส่วนอีก 1
อันแยกเป็นอิสระ
รังไข่แบนยาว
มีขนสีขาวทั่วไป ฝักแบน
กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 10-14 ซม.
ตอนกลางและปลายกว้างกว่าส่วนฐาน
ปลายแหลมเป็นจะงอย
ฝักอ่อนสีเขียว
เมื่อแก่สีน้ำตาลอมเหลือง
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ ภาคกลาง
และภาคตะวันตกเฉียงใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.