แกลบหนู
Dendrolobium lanceolatum
(Dunn) Schindl., LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่ม สูง 1-3
ม. แตกกิ่งมาก
กิ่งค่อนข้างกลม
มีขนสั้นๆ
สีน้ำตาลประปรายถึงหนาแน่น
ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยสามใบ
เรียงสลับ
ก้านใบประกอบยาว 1-2.5 ซม.
มีขนสีเทาถึงน้ำตาลอ่อน
หูใบบาง โปร่งแสง กว้าง
1-2 มม. ยาว 0.5-1 ซม.
ปลายเรียวแหลม
มีขนสั้นๆ ใบย่อยรูปรี
รูปไข่ รูปไข่กลับ
ถึงรูปขอบขนาน
ขนาดไล่เลี่ยกันแต่ใบกลางใหญ่กว่าเล็กน้อย
กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 1.5-5 ซม.
ปลายมน โคนสอบมน
แผ่นใบบาง
ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย
ด้านล่างมีขนสั้นๆ
สีเทาถึงน้ำตาลอ่อน
เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น
ก้านใบย่อยกลางยาว 0.5-1.5
ซม.
ก้านใบย่อยคู่ข้างสั้นมาก
ช่อดอกสั้น
ออกตามง่ามใบ
ดอกรูปดอกถั่ว
ออกเป็นกระจุก
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ปลายแยกจากกัน ยาว 4.5-7 ซม.
กลีบล่างสุดยาวกว่า 3
กลีบที่เหลือ
มีขนสีเทาถึงน้ำตาลอ่อน
กลีบดอก 5 กลีบ
สีขาวถึงเหลืองอ่อน
กลีบกลางรูปรี กว้าง 5-7
มม. ยาว 6-9 มม. ปลายมน
โคนสอบแคบ เกสรเพศผู้ 10
อัน
ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นแผ่น
ฝักแบนรี
เบี้ยวถึงเกือบกลม
กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 0.8-1
ซม. มี 1 เมล็ด เมล็ดเล็ก
รูปไต
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
จีนตอนใต้และภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นในที่โล่งในป่าเบญจพรรณ
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
100-400 ม.
เวลาออกดอก :
เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
เวลาออกผล :
เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.