กำลังช้างสาร
Maesa montana A. DC., MYRSINACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ หรือเวียนรอบ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 3-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายแหลมมาก โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อย หรือหยักซี่ฟัน เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ช่อดอกออกตามง่ามใบ และบริเวณเหนือรอยแผลใบ ยาว 1-5 ซม. ก้านดอกยาว 1-2 มม. โคนก้าน และปลายก้านดอกมีใบประดับรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม เล็กมาก กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายหยัก 5 หยัก รูปไข่ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ 1 มม. ปลายหยัก 5 หยัก ค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นติดแนบที่โคนกลีบดอก อับเรณูเล็กมาก รังไข่ส่วนล่างอยู่ในถ้วยกลีบเลี้ยง และส่วนบนสูงกว่าวงกลีบเลี้ยงเล็กน้อย ผลค่อนข้างรี หรือเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มม. ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ เมล็ดเล็กมาก และมีจำนวนมาก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง


สภาพนิเวศน์ : พบตามป่าดิบ และป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 ม.


เวลาออกดอก : เกือบตลอดปี


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.