กระถินไทย
Leucaena leucocephala
(Lamk.) de Wit, LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก
สูงได้ถึง 10 ม.
ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับ ยาว 12.5-25. ซม.
แกนกลางใบประกอบยาว 10-20
ซม. มีขน ใบย่อย 5-20 คู่
เรียงตรงข้าม
รูปแถบหรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ
กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม.
ปลายแหลม โคนเบี้ยว
ขอบมีขน ด้านล่างมีนวล ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น
ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ
ก้านช่อดอกยาว 2-5 ซม.
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ยาวประมาณ 3 มม.
โคนติดกันเป็นรูประฆัง
ปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ
มีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว
รูปช้อน ยาวประมาณ 5 มม.
มีขน เกสรเพศผู้ 10 อัน
ก้านชูอับเรณูยาว 0.8-1 ซม.
รังไข่ด้านบนมีขน ฝักแบน
กว้าง 1.4-2 ซม. ยาวได้ถึง 20
ซม. ปลายแหลม โคนสอบ
ก้านยาว 0.6-1.3 ซม.
ฝักแก่แตกตามยาว เมล็ด
15-30 เมล็ด สีน้ำตาล
เป็นมัน รูปไข่ แบน
กว้าง 3-5 มม. ยาว 6-9 มม.
ถิ่นกำเนิด :
ทวีปอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
การกระจายพันธุ์ :
เขตร้อนของอเมริกาใต้และอเมริกากลาง
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: เป็นไม้นำเข้า
สภาพนิเวศน์ :
พื้นที่แห้งแล้ง
เจริญเติบโตเร็ว
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K. 1985. Flora of Thailand
(Vol.4: 2). Bangkok: TISTR Press.