กระถินไทย
ชื่อพื้นเมือง :
กระถิน กระถินไทย
กระถินบ้าน (ภาคกลาง),
กะเส็ดโคก กะเส็ดบก (ราชบุรี),
ตอเบา สะตอเทศ สะตอเบา (ภาคใต้),
ผักก้านถิน (เชียงใหม่),
ผักหนองบก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucaena
leucocephala (Lamk.) de Wit
ชื่อวงศ์ :
LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ : White Popinac,
Lead Tree
ลักษณะ : ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับ ดอกช่อแบบช่อกระจุกแน่น
ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ ฝักแบน
ปลายแหลม โคนสอบ
ฝักแก่แตกตามยาวมีเมล็ด
15-30 เมล็ด
สีน้ำตาลเป็นมัน
รูปไข่แบนกว้าง
ประโยชน์ :
ใบหมักเป็นปุ๋ย ใบ ยอด
ฝัก
และเมล็ดอ่อนใช้เป็นอาหารของวัว
ควาย แพะ แกะ ไก่ ฯลฯ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนใช้กินเป็นผักได้
เมล็ดนำมาทำเป็นเครื่องประดับหลายชนิด
เช่น สายสร้อย เข็มกลัด
เข็มขัด ฯลฯ
เปลือกให้เส้นใยสั้นใช้ทำกระดาษได้
แต่คุณภาพไม่ดี
พันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่เรียกว่ากระถินยักษ์
มีลำต้นสูงกว่าพันธุ์เดิม
ปลูกเพื่อกันลมและบังแดดให้แก่พืชที่ปลูก
เช่น ชา กาแฟ
และใช้ทำฟืน
โทษ :
สัตว์กระเพาะเดียวที่กินใบกระถินในปริมาณสูงจะทำให้ขนร่วง
เป็นหมัน
เนื่องจากมีสารพวก leucenine
ซึ่งเป็นพิษ
แต่ไม่มีรายงานของการเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินเกิดขึ้นในคน
มีรายงานว่ากระถินเป็นพืชที่ดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก
จึงทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้อีก