กระท้อน
Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr., MELIACEAE

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำ ปลายกิ่งลู่ลง ลำต้นเปลา โคนมักเป็นพอน เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ค่อนข้างเรียบ และแตกล่อนเป็นสะเก็ดใหญ่ๆ เป็นปุ่มปม ใบประกอบ แบบขนนกมีใบย่อยสามใบ เรียวเวียนสลับ ก้านใบประกอบยาว 6-16 ซม. ใบย่อยคู่ข้างมีก้านยาว 2-8 มม. ส่วนใบย่อยเป็นกลางมีก้านยาว 4-6 ซม. ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปรี ค่อนข้างกว้าง หรือเกือบกลม กว้าง 5-11 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายแหลมโคนมน โคนใบของใบย่อยคู่ข้างเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นห่าง ๆ ใบอ่อนมีขนสีเหลืองอ่อนทั้ง 2 ด้าน ขนจะร่วงไปบ้างเมื่อใบแก่ ใบแก่สีเขียวเข้ม เมื่อจะทิ้งใบเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 4-16 ซม. ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีขนสีเหลืองทั่วไป ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง มีจำนวนมาก กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4-5 มม. แยกกันเป็นอิสระ เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 มม. มี 10 อัน ติดกันเป็นหลอด อับเรณูติดอยู่ภายในหลอด ผลใหญ่ กลมแป็น ฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 ซม. เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม มียางสีขาวเล็กน้อย ผลสุกผิวสีเหลืองนวล กลิ่นหอม มี 3-4 เมล็ด เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม รสเปรี้ยว หรือหวาน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค พบมากทางภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ราบต่ำ และพบขึ้นห่าง ๆ ตามหุบเขาจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.