กระท้อน
ชื่อพื้นเมือง :
กระท้อน (ทั่วไป), เตียน
ล่อน สะท้อน (ภาคใต้),
มะต้อง (ภาคเหนือ,
อุดรธานี), มะติ๋น (ภาคเหนือ),
สตียา สะตู (มลายู-
นราธิวาส), สะโต (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum
koetjape (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่อสามัญ : Santol, Sentul,
Red Sentol, Yellow Sentol
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่
สูง 15-30 ซม. ลำต้นเปลา
โคนมักเป็นพอน
เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู
ใบประกอบ
แบบขนนกมีใบย่อยสามใบ
เรียวเวียนสลับ
ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปรี
ค่อนข้างกว้าง
หรือเกือบกลม
ปลายแหลมโคนมน
โคนใบของใบย่อยคู่ข้างเบี้ยวเล็กน้อย
ขอบเรียบ
หรือเป็นคลื่นห่าง ๆ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
มีขนสีเหลืองทั่วไป
ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง
มีจำนวนมาก
กลิ่นหอมอ่อน
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
โคนติดกันคล้ายรูประฆัง
ปลายแยกเป็น 5 แฉก
กลีบดอก 5 กลีบ
รูปขอบขนาน
แยกกันเป็นอิสระ
เกสรเพศผู้มี 10 อัน
ติดกันเป็นหลอด ผลใหญ่
กลมแป็น ฉ่ำน้ำ
เปลือกมีขนนุ่ม
เนื้อหนานุ่ม
มียางสีขาวเล็กน้อย
ผลสุกผิวสีเหลืองนวล
กลิ่นหอม มี 3-4 เมล็ด
เมล็ดมีเนื้อหนาเป็นปุยสีขาวหุ้ม
ประโยชน์ :
ชาวสวนนิยมปลูกกระท้อนในสวนผลไม้ทางภาคกลาง
ภาคใต้
และภาคตะวันออกเฉียงใต้
เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ
สีแดงเรื่อ ๆ ปนเทา
ใช้ในร่มทนทานพอประมาณ
แพทย์แผนโบราณใช้รากเป็นยาแก้โรคบิด
ถ้าสุมเป็นถ่านกินเป็นยาดับพิษร้อนในถอนพิษไข้รากสาด
ปรุงเป็นยามหานิล
ชาวมาเลเซีย
ใช้เปลือกกระท้อนเป็นยากินหลังการคลอดบุตร
และใช้เปลือกป่นบำบัดกลาก
ใช้น้ำคั้นจากใบกินบรรเทาอาการจับไข้
โทษ : -