กูดหางนกยูง
Lindsaea chienii Ching, LINDSAEACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดสั้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาล รูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม. โคนกว้าง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม ก้านใบเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลแดงถึงเกือบดำ ยาวได้ถึง 25 ซม. กลุ่มใบย่อย 1-3 คู่ กลุ่มที่โคนรูปแถบ กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. มีก้านสั้น กลุ่มที่ปลายกว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 12 ซม. ใบย่อยของกลุ่มที่อยู่ด้านข้างรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนสอบเป็นรูปลิ่ม ปลายมน ใบย่อยที่มีขนาดใหญ่ขอบหยัก ใบย่อยของกลุ่มที่ปลาย รูปขอบขนานถึงรูปกึ่งสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ขอบใบชิดหรือเกยทับแกนกลางใบประกอบ ขอบด้านบนหยักลึก แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นใบอิสระยกเว้นบริเวณที่มีกลุ่มอับสปอร์ เส้นใบเห็นได้ชัดเจนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามขอบใบส่วนนอกและส่วนบนของแผ่นใบย่อย บริเวณที่ขอบใบหยักลึกกลุ่มอับสปอร์จะขาดเป็นช่วงๆ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่นตอนใต้


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนไหล่เขาที่ค่อนข้างแห้งในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.