กะตังใบ


ชื่อพื้นเมือง : กะตังใบ (กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, เชียงใหม่), คะนางใบ (ตราด), ช้างเขิง (เงี้ยว), ดังหวาย (นราธิวาส), ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ), บังบายต้น (ตรัง)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea indica (ฺBurm.f.) Merr.


ชื่อวงศ์ : LEEACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-10 ม. ใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงสลับ หูใบรูปไข่กลับ เห็นชัดเจนขณะใบยังอ่อน และร่วงง่ายเมื่อใบแก่เหลือไว้เฉพาะรอยแผลรูปสามเหลี่ยม ใบย่อยรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนแหลมเล็กน้อยหรือมน ขอบจักแหลม ช่อดอกใหญ่ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกส่วนล่างติดกัน ส่วนบนแยกเป็นกลีบเรียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่มี 6 ช่อง ผลกลม ด้านบนแบน เมล็ดรูปไข่


ประโยชน์ : ในมาเลเซียใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง อินโดนีเซียใช้พอกศีรษะแก้ไข้ อินเดียใช้ใบแก้เวียนศีรษะ รากแก้บิดและท้องร่วง ไทยใช้รากเป็นยาขับเหงื่อ ระงับความร้อน แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม