การบูร
Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl, LAURACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. อาจสูงได้ถึง 30 ม. ลำต้นและกิ่งเรียบ ทุกส่วนมีกลิ่นหอมการบูร (camphor) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รากและโคนต้นมีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่นๆ ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี กว้าง 2-7 ซม. ยาว 5-11 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 2-3 เส้น คู่ล่างเห็นได้ชัดกว่าคู่บนๆ และออกใกล้โคนใบ มีต่อม 2 ต่อมที่ง่ามใบคู่ล่าง ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ยาวประมาณ 7 ซม. ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้นมาก ยาวประมาณ 1 มม. กลีบรวม 6 กลีบ รูปรี ปลายมน ยาวประมาณ 2 มม. โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ด้านในมีขนอ่อนนุ่ม เกสรเพศผู้ 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงนอกและวงกลางแยกจากกัน มีขนอ่อนนุ่มประปราย วงในมีขนและมีต่อมไม่มีก้าน รูปหัวใจ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มี 1 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : พรรณไม้พื้นเมืองของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน


การกระจายพันธุ์ : นำไปปลูกในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย อินโดนีเซีย อียิปต์ แอฟริกาใต้ บราซิล จาไมกา สหรัฐอเมริกา และไทย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.