กูดพร้าว
Cyathea latebrosa
(Wall. ex Hook.) Copel., CYATHEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: เฟิร์นต้น
ลำต้นตั้งตรง สูง 3-5 ม.
มีเกล็ดปกคลุม
และมีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป
รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
ออกรวมเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด
แกนกลางใบประกอบไม่เรียบ
มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
ด้านบนมีขนและเกล็ดประปราย
ก้านใบสีน้ำตาลปนเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม
ยาวประมาณ 40 ซม.
มีหนามสั้นๆ
ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน
เกล็ดรูปแถบ
กว้างประมาณ 1 มม.
ยาวประมาณ 2 ซม.
ด้านบนมีขน
กลุ่มใบย่อยคู่ล่างลดขนาดลงยาวประมาณ
10 ซม. รูปร่างไม่แน่นอน
กลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมารูปขอบขนานแคบ
กว้างประมาณ 14 ซม.
ยาวประมาณ 40 ซม.
ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว
แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง
ใบย่อยมีมากกว่า 25 คู่
เรียงห่างกันประมาณ 1.6 ซม.
รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
กว้างประมาณ 1.7 ซม.
ยาวประมาณ 7 ซม.
ปลายเรียวยาว
โคนกึ่งตัด
ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย
หยักเฉียง รูปเคียว
กว้างประมาณ 3 มม.
ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายมน
ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อย
เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน
ด้านล่างมีเกล็ดแบนสีน้ำตาล
แผ่นใบบาง
ด้านบนสีเขียวเข้ม
ด้านล่างสีเขียวอ่อน
เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ 7-8
คู่ ไม่มีก้านใบย่อย กลุ่มอับสปอร์รูปเกือบกลม
อยู่บนเส้นใบ 2
ข้างเส้นกลางใบย่อย
เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก
อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
จีนตอนใต้ กัมพูชา
มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบเขา
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า
1,000 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.