กระดอม
Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz, CUCURBITACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก กว้าง 3-10 ซม. ยาว 4-10 ซม. โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ สากคายทั้งด้านบน และด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 1.5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อยาว 7-15 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก มีขนเป็นมันเลื่อม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลสีแดงอมส้ม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 4-5 ซม. ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี กว้างประมาณ 3 มม. กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 6 มม. มีจำนวนมาก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.