กระดอม
ชื่อพื้นเมือง :
ขี้กาดง ขี้กาน้อย (สระบุรี),
ขี้กาลาย (นครราชสีมา),
ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),
ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา
(ภาคเหนือ), มะนอยหก
มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน), กระดอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum
cochinchinense (Lour.) Kurz
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้เถา
ลำต้นเป็นร่อง
และมีมือเกาะ (tendril) ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
มีรูปร่างต่างๆ กัน
มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม
ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก
โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ
โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ
ดอกแยกเพศ
อยู่บนต้นเดียวกัน
ใบประดับยาว 1.5-2 ซม.
ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม
ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว
ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก
5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว
โคนติดกันเล็กน้อย
เกสรเพศผู้ 3 อัน
ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ
กลีบเลี้ยง
และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้
รังไข่มีช่อเดียว
ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3
แฉก ผลสีแดงอมส้ม
รูปไข่แกมรูปขอบขนาน
ผิวสาก มีสัน 10 สัน
เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี
ประโยชน์ :
กระดอมเป็นสมุนไพร
ในอินเดียใช้รากแห้งบดผสมกับน้ำร้อนทาถูนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเมื่อย
น้ำต้มจากในกินเป็นยาถอนพิษของผลสุกที่กินเข้าไป
เมล็ดต้มน้ำกินเป็นยาลดไข้
ขับน้ำลาย บำรุงธาตุ
และช่วยย่อย.
โทษ : -