กระทงลาย
Celastrus paniculatus
Willd., CELASTRACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่
ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลถึง
10 ม. เปลือกเถามีขนาดใหญ่
ปริออกจากกันตามยาว
ขรุขระเล็กน้อย
ตามกิ่งมีช่องอากาศทั่วไป
ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ รูปรี
รูปรีแกมรูปขอบขนาน
รูปไข่
รูปไข่แกมรูปขอบขนาน
รูปไข่กลับ หรือรูปกลม
กว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-15 ซม.
ปลายแหลม
มนหรือเว้าเล็กน้อย
โคนแหลมหรือมน
ขอบจักเป็นคลื่นถี่ๆ
เส้นแขนงใบคู่ล่างสุดออกจากโคนใบ
แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง
ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง
ก้านใบยาว 0.8-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามปลายกิ่ง ยาว 5-18 ซม.
มีขนประปราย ดอกเล็ก
สีขาวอมเหลือง
มีจำนวนมาก ดอกแยกเพศ
ก้านดอกยาว 1-4 มม.
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ติดกันคล้ายรูประฆัง
มีขนสั้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ
แยกกัน ยาว 2-3 มม.
จานฐานดอกมีลักษณะคล้ายรูปถ้วย
ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 5
อัน
และมีเกสรเพศเมียไม่สมบูรณ์ขนาดเล็กกว่าเกสรเพศผู้
ดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์
ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3
แฉกสั้นๆ
แต่ละแฉกมักแยกออกเป็นสองง่าม
ผลกลม
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
7 มม. ผลแก่สีส้มปนเหลือง
แตกตามผนังออกเป็น 3
กลีบ มี 3-6 เมล็ด เมล็ดรูปไข่
มีเนื้อสีแดงอมน้ำตาลหุ้มโดยรอบ
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า
ภูมิภาคอินโดจีน
ภูมิภาคมาเลเซีย
จนถึงออสเตรเลีย
และนิวแคลีโดเนีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นในพื้นที่โล่ง
ตามป่าผลัดใบ
และป่าละเมาะ
บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ
1,400 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.