กากหมาก
Balanophora latisepala
(Tiegh.) Lec., BALANOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: พืชเบียนล้มลุก
อาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงจากพืชอื่น
ลำต้นมีขนาดไม่แน่นอน
ความยาวรวมส่วนที่เชื่อมติดกับพืชให้อาศัย
(host) และช่อดอกประมาณ 10-25 ซม.
ส่วนที่เชื่อมติดกับรากของพืชให้อาศัยเป็นก้อนปุ่มปมที่มีลักษณะไม่แน่นอน
ประกอบด้วยก้อนขนาดเล็กหลายก้อนติดกัน
แต่ละก้อนกลมรี
ผิวเป็นสะเก็ดหยาบ ๆ
รูปดาว ใบไม่มีสีเขียวแต่มักมีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลือง
เนื่องจากเป็นพืชเบียนที่ไม่สังเคราะห์แสง
ใบลดรูปจนมีลักษณะเป็นกาบหุ้ม
ลำต้นและโคนช่อดอกมีจำนวน
4-6 ใบ
เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
กว้างยาวไม่แน่นอน
เท่าที่พบกว้างมากที่สุดประมาณ
3.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น
ออกเป็นช่อตามปลายยอด
ต้นหนึ่งมีเพียงช่อเดียวแต่มีดอกจำนวนมาก
ช่อดอกเพศผู้ยาวคล้ายไม้กระบอง
มีดอกเพศผู้ติดอยู่เป็นระยะๆ
ดอกเบี้ยว กลีบดอก 4-6
กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 ซม.
ช่อดอกเพศเมียรูปไข่ยาวๆ
มีดอกเพศเมียขนาดเล็กประมาณเท่าปลายดินสอดำเรียงอัดกันแน่น
ผลเล็กมาก
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า ภูมิภาคอินโดจีน
มาเลเซีย
เกาะสุมาตราจนถึงบอร์เนียว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นบนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ
1,600 ม.
เกาะเบียนพืชหลายชนิด
เช่น พืชในวงศ์ Leguminosae
พืชในวงศ์ Vitidaceae
และพืชในสกุล Ficus
เวลาออกดอก :
ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง
แต่ไม่บ่อยนัก
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.