เบญจมาศชื้น
Wedelia chinensis
(Osbeck) Merr., ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ล้มลุก
ลำต้นมีขน
ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ชูยอดตั้งขึ้น
มีรากตามข้อ ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปใบหอก
รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
หรือรูปไข่กลับแคบ
กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1-7.5 ซม.
ปลายแหลมหรือมีติ่งแหลม
โคนเรียวแหลม
ขอบเรียบหรือจักซี่ฟัน
มีขนราบทั้ง 2 ด้าน
ก้านใบสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น
ออกที่ยอด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม.
ก้านช่อดอกยาว 6-12 ซม.
วงใบประดับ 5 ใบ
รูปขอบขนาน กว้างประมาณ
3 มม. ยาวประมาณ 1 มม.
ปลายแหลมหรือป้าน
สีเขียว มีขน
ดอกวงนอกรูปลิ้น มี 8-12
ดอก เป็นดอกเพศเมีย
กลีบดอกสีเหลือง
โคนติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ
1 มม.
ปลายเป็นแผ่นกว้างประมาณ
4 มม. ยาว 6-8 มม.
ดอกวงในโคนกลีบติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
ยาวประมาณ 4 มม.
กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นแผ่นเยื่อบางๆ
รูปใบหอก ยาวประมาณ 5 มม.
เกสรเพศผู้ 5 อัน
รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลกว้างประมาณ
3 มม. ยาว 4-5 มม.
สีน้ำตาลเข้ม
เรียบหรือขรุขระ
ผลจากดอกวงนอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสันมน
ส่วนผลจากดอกวงในแบน
เมื่อแก่แห้งไม่แตก
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
จีน อินเดีย ศรีลังกา
ไต้หวัน ญี่ปุ่น
มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
พรรณไม้ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง
สภาพนิเวศน์ :
แพร่พันธุ์เป็นวัชพืชตามที่ชื้นแฉะ
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.