กระหนกนฤมิต
Rhektophyllum mirabile
N.E. Br., ARACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อยมีข้อทอดไปตามผิวดิน
ข้อห่างกัน 10-15 ซม.
น้ำยางสีขาวขุ่น ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับเป็นวงรอบข้ออย่างไม่มีระเบียบ
แผ่นใบบาง รูปลูกศร
กว้างยาวประมาณ 20 ซม.
ปลายแหลม
โคนแยกห่างกันประมาณ 15
ซม.
ขอบโค้งเว้าหยักเป็นคลื่น
ก้านใบยาว 10-40 ซม.
เส้นใบสีเขียวเข้ม
พื้นระหว่างเส้นใบเป็นลายสีนวลคล้ายลายกระหนก
ใบแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวไม่มีลาย
ใบประดับสีเหลืองอ่อน
ยาวประมาณ 10 ซม.
หุ้มปลีดอกหรือช่อดอกไว้
ช่อดอกแยกเป็น 2
ส่วน
ส่วนบนเป็นช่อดอกเพศผู้สีเหลืองนวล
ส่วนล่างเป็นช่อดอกเพศเมียสีชมพู
ผลรูปไข่
ยาวประมาณ 1 ซม.
ก้านช่อยาวประมาณ 7 ซม.
ที่ปลูกในประเทศไทยยังไม่เคยพบว่ามีดอก
ถิ่นกำเนิด :
แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก
เช่น ประเทศไนจีเรีย
แคเมอรูน คองโก
การกระจายพันธุ์ :
-
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: -
สภาพนิเวศน์ :
ในสภาพธรรมชาติจะเลื้อยขึ้นต้นไม้ใหญ่โดยใช้รากเกาะ
ใบใหญ่จะฉีกหรือมีรูโหว่บนใบ
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ :
ใช้ดินกลบไหลที่เลื้อยอยู่รอบๆ
ลำต้น จะได้หน่อเล็กๆ
ซึ่งมีรากออกตามข้อ
ตัดหน่อนำไปปลูกหรือบางครั้งมีหน่อเกิดรอบต้นใหญ่ก็ตัดออกปลูกได้
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.