จันทน์กะพ้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Vatica
diospyroides Syming
วงศ์ :
DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
เขี้ยวงูเขา จันทน์พ้อ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นใหญ่
ลำต้นสูงประมาณ 6-15 เมตรไม่ผลัดใบ
ทรงพุ่มโปร่งไม่ค่อยสวย
มีใบน้อย ต้นแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปราะ
มีน้ำยางใสซึมออกมาตามรอยแตก ใบเดี่ยว
ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน รูปรีแกม
ขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว
และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ
ที่ซอกใบและปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน
กลีบดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกเล็กแต่กลิ่นหอมแรงมาก
หอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลง
ดอกทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ออกดอกประมาณเดือน
พฤศจิกายน-มีนาคม มักดกในราว
มกราคม-กุมภาพันธ์ เมื่อเริ่มปลูกใช้เวลาประมาณ
5-7 ปีจึงจะออกดอก
วิธีปลูกใช้เพาะเมล็ดขึ้นในร่มๆ
จะดีกว่าที่แจ้ง
แต่โอกาสที่จะเพาะขึ้นเป็นต้นนั้นน้อยมาก
ไม่เกินร้อยละสิบ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีราคาแพง
และหายาก ต้นนจันทน์กะพ้อเจริญเติบโตช้า
ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
ระยะแรกปลูกเฉพาะในรั้วในวัง
ต่อมาจึงแพร่ออกมาสู่ภายนอก
จันทน์กะพ้อเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับ เต็ง
รัง และยางนา เดิมมีรายงานพบขึ้นเกือบทั่วประเทศ
มีถิ่นกำเนินในเอเซียเขตร้อน
จันทน์กะพ้อนอกจากจะหาได้ยาก ขยายพันธุ์ได้ยากแล้ว
ยังต้องการ ถิ่นนอาศัยในที่ๆ ลมไม่แรงนัก
มีความชื้นในอากาศดี ดินมีการระบายน้ำได้ดี
และมีร่มเงาจากไม้อื่น จึงจะเจริญเติบโตได้ดี
ประโยชน์ :
สมัยก่อนคนโบราณใช้ดอกกลั่นทำน้ำมันใส่ผม
ดอกปรุงเป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
ถึงแม้ปัจจุบันโรงงานทำน้ำหอมจะสนใจในการผลิตน้ำหอมจากดอกจันทน์กะพ้อแต่มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยมาก
ตราบใดที่ยังขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นไม่ได้
|