แดงแสม
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schoutenia ovata   Korth.
วงศ์ :  TILIACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น แดงแขแหย แดงแพ่แย่ (ภาคเหนือ) ขี้เทา (ภาคตะวันออก) แดงดง(อุตรดิตถ์)  แดงสะแง (นครราชสีมา, ภาคเหนือ, ปราจีนบุรี) แดงแสม (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์) แดงเหนียว (ภาคกลาง) แบงทะแง (เขมร-ปราจีนบุรี) สะแง (เขมร-ภาคตะวันออก)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตื่นตามยาวลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 10-13 ซม. ปลายใบสอบเรียว โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่างมีคราบขาว มีขน แผ่นใบหนา เส้นใบ 3 เส้น ออกจากโคนใบ เส้นแขนงใบข้างละ 4-6 เส้น ใบอ่อนสีแดง ก้านใบยาว 8-10มม. ดอก สีขาวอมเหลือง ดอกหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงเล็กตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. ผล  ผลแห้งทรงกลมเล็กมีขนสีน้ำตาลคลุม ขนาด 0.3-1.1 ซม. กลีบเลี้ยงเจริญขยายตัวออกเป็นรูปดาว สีน้ำตาลอ่อน
          ออกดอกประมาณเดือน สิงหาคม-กันยาย เป็นผลประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน  แดงแสมมีการกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าดิบแล้ง ตามชายเขาหรือห้วย
ประโยชน์
:  ปลูกประดับทั่วไป ไม้ทำเครื่องเรือน ผลทำไม้ประดับแห้ง