ขนุน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Artocarpus heterophyllus
Lam.
วงศ์ :
MORACEAE
ชื่อสามัญ
: Jack fruit tree
ชื่ออื่น: ปะหน่อย
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นะยวยซะ
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) นากอ (มลายู-ปัตตานี) มะหนุน
(ภาคเหนือ, ภาคใต้) หมักหมี้ (ภาคเหนือ) หมากลาน
(ฉาน-แม่ฮ่องสอน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 -
30 เมตร
ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8
เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม
โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก
เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน
ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง
ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย
เป็นหนามแหลม
ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก
ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
ประโยชน์ :
ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน
เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง
ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด
รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล
ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง
แก้ไข้ ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน
แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล
|