สัก
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis   L.f.
วงศ์ LABIATAE
ชื่อสามัญ : Teak
ชื่ออื่น : เคาะเยียโอ  ปายี้  เป้อยี  เส่บายี้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ผลัดใบสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อน ใบ เดี่ยว เรียบตรงข้าม ปลายแหลม โคนมน ยาว 25-40 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ด้านล่างสีเขียวเข้ม ด้านบนสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนสากมือ มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
           ไม้สัก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว (ส่วนที่ติดภาคเหนือของไทย)และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยนั้น ไม้สักจะขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ในป่าเบญจพรรณทาง ภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและเชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี  ออกดอกและเป็นผลเดือนมิถุนายน ตุลาคม
ประโยชน์
:
เนื้อไม้ มีลายสวยงาม แข็งแรง ทนทาน เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งและชักเงาได้ง่าย และดีมาก ใช้ในการก่อสร้างเครื่องเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพราะมีสารพวกเตคโตคริโนน