ช้างน้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ochna integerrima
(Lour.)
Merr.
วงศ์ :
OCHNACEAE
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น : กระแจะ
(ระนอง) กำลังช้างสาร (ภาคกลาง) ขมิ้นพระต้น
(จันทบุรี) แง่ง (บุรีรัมย์) ช้างน้าว ตานนกกรด
(นครราชสีมา) ช้างโน้ม (ตราด) ช้างโหม (ระยอง)
ตาลเหลือง (ภาคเหนือ) ฝิ่น (ราชบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง
3-8 เมตร มีพุ่มใบและให้ดอกสวยงาม
สีเหลืองอร่ามหรือแดงเจิดจ้า
ตั้งแต่ปลายฤดูหนาวจนถึงสิ้นฤดูร้อน
เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ตลอดจนไฟป่าได้ดีมาก
สามารถขึ้นได้ตามป่าผลัดใบได้ทุกภาคของประเทศ
ตามปลายกิ่งจะมีกาบค่อนข้างแข็งปลายแหลมหุ้มตาอยู่
เมื่อผลัดใบหมดแล้ว จะเห็นปลายกิ่งแหลม
นับได้ว่าเป็นลักษณะสำคัญประจำพันธุ์ไม้ชนิดนี้
ใบ อาจมีทั้งรูปขอบขนาน รูปไข่กลับ กว้าง 4-7 ซม. ยาว
8-20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมมน
หรืออาจเว้าเข้าเล็กน้อย
ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบมักจะกว้างแล้วค่อยๆ
สอบแคบมาทางโคนใบ เส้นแขนงใบละเอียดถี่
บางทีคล้ายกับหนามแหลมๆ ก็มี
เนื้อใบเกลี้ยงเนียนเป็นมันทั้งสองด้าน
ก้านใบยาวประมาณ 0.5 ซม.
ถ้าขึ้นตามป่าผลัดใบในที่ค่อนข้างแห้งแล้งมักจะทิ้งใบก่อนหรือในขณะออกดอก
และถ้าอยู่ตามชายป่าดิบแล้งมักไม่ทิ้งใบ ดอก
เป็นช่อเดี่ยวๆ รวมกันเป็นกระจุกตามกิ่ง
ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 4 ซม.
กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนาน 5 กลีบ
กลีบจะโค้งลงไปหาก้านดอก และติดอยู่จนกระทั่งเป็นผล
กลีบดอกสีเหลืองบอบบาง อาจมี 5-6-10 กลีบ หลุดร่วงง่าย
เกสรผู้มีกมากรวมกันเป็นกระจุก
ตรงกลางจะมีปลายหลอดท่อรังไข่ยาวยื่นพ้นเกสรผู้ออกมา 1
อัน รังไข่มี 5-10 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย
ก้านดอกเรียวเล็ก ยาวประมาณ 4 ซม. โคนก้านมีกาบเล็กๆ
หุ้มเมล็ด ผล มีเมล็ดสีเขียว 1-3 เมล็ด
ติดอยู่บนฐานรังไข่ จะเปลี่ยนเป็นสีดำ
บนฐานสีแดงเมื่อแก่เต็มที่
ออกดอกเดือน
มกราคม-พฤษภาคม
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับใช้รากปรุงเป็นยาขับพยาธิ
ทำให้น้ำเหลืองดี
|