แสลงใจ
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Strychnos nux-vomica   L.
วงศ์ :  STRYCHNACEAE
ชื่อสามัญ : Nux-vomica tree, Snake wood
ชื่ออื่น โกฐกะกลิ้ง  กระจี้  กะกลิ้ง ตูมกาแดง (ภาคกลาง) แสลงทม แสลงเบื่อ (นครราชสีมา) แสลงเบือ (อุบลราชธานี) โฮงบ้วยจี๊ (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบ สีเทาปนดำ
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ใบเกลี้ยงมีเส้นใบ 5 เส้นออกจากโคนใบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ดอก สีขาวหรือขาวอมเขียว ออกรวมเป็นช่อแบบช่อกระจุก ยาว 2.5-5.5 ซม. ตามปลายกิ่ง ก้านดอกมีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 มม. ผล เป็นสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ผนังหนา มีขนสากหรือเกลี้ยง ทรงกลมแข็ง ขนาด 2.5- 5 ซม. ผลสุกเป็นสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่ผนังไม่แตกออกจากกัน เมล็ดรูปจานหนา 5-7 มม. มี 1-4 เมล็ดต่อผผล
          ระยะการออกดอกประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เป็นผลประมาณเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม สภาพนิเวศวิทยา พบได้ในป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงหรือป่าเต็งรังทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
ประโยชน์
:  ใบ ตำพอกรักษาแผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เมล็ดมีพิษ รักษาอัมพาต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาทสัมผัสของจมูก หูและสายตา ถ้าใช้มากเป็นพิษทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขากรรไกรแข็ง อาจอันตรายถึงชีวิตได้