สีเสียด
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Acacia catechu
(L.f.)
Willd.
วงศ์ :
LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ
: Catechu tree, Cutch tree
ชื่ออื่น : สะเจ
(ฉาน-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด ขี้เสียด (ภาคเหนือ)
สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง)
สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น
สูง
10-15
ซม. กิ่งมีหนามเป็นคู่
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 9-17 ซม.
ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ
ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอกตรง กลีบดอกสีนวล ผล เป็นฝัก
แบนยาว สีน้ำตาล
ประโยชน์ :
แก่นมีฤทธิ์ฝาดสมานเนื่องจากมีสารแทนนิน
ตำรายาไทยใช้กินแก้ท้องร่วง
ใช้ภายนอกรักษาบาดแผลและโรคผิวหนัง
ถ้าสับแก่นให้เป็นชิ้นเล็ก ต้มเคี่ยวไฟอ่อน ๆ กับน้ำ
กรองเคี่ยวต่อจะได้น้ำยางสีดำ มีลักษณะเหนียว
ปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้จนแห้งแข็ง เรียกกันว่าสีเสียดลาว
มีรสฝาดมาก ใช้ปรุงยา หรือใช้ย้อมผ้าและฟอกหนังสัตว์
|