สมอไทย
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Terminalia chebula  Retz. var. chebula
วงศ์ :  COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ :  Myrabolan wood
ชื่ออื่น ม่าแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  สมอไทยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร กว้าง 0.5-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับไปตามข้อของต้น รูปไข่ ปลายใบ แหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวใบยาวประมาณ 8-16 ซม. มีก้านใบยาว ดอก ออกดอกเป็นดอกช่อ ขนาดใหญ่ ดอกมีขนาดเล็ก มีสีนวลและมีกลิ่นหอม
ประโยชน์
: ทั้งต้น เป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้อาการเสียวคอและหน้าอก แก้ท้องผูก และเป็นยาสมาน ดอก เป็นยารักษาโรคบิด ผล ใช้ทาภายนอกโดยบดโรยแผลเรื้อรัง ถ้าเป็นผลอ่อนเป็นยาระบาย ผลแก่จะมีสาร tannin เป็นยาสมาน ยาระบายรู้จักบิด แก้ลม จุกเสียด ช่วยเจริญอาหาร หรือยาบำรุง อมกลั้ว แก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ เนื้อหุ้มเมล็ด แก้บิด แก้ท้องผูก ท้องขึ้นอืดเฟ้อ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี โรคท้องมาน ตับโต ม้ามโต อาเจียน อาการสะอึก โรคหืด ท้องร่วงเรื้อร