แวนด้า
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Vanda spp.
วงศ์ :
ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
: Vanda
ชื่ออื่น :
มีชื่อเรียกตามแต่ละสายพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล
ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ
ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน
ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ
ช่อดอกยาวและแข็ง
กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ
และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร
กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า
ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง
และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน
หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น
สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด
กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40
ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย
ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์
แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์
ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า
โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ
-
แวนด้าใบกลม
มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง
สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก
แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น
เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น
ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ
การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
-
แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก
ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี
มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน
ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก
-
แวนด้าใบร่อง
มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม
แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ
การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น
โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
-
แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น
กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก
เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น
ประโยชน์ :
เป็นไม้ประดับที่สวยงามมาก
::: ที่มาของข้อมูล
และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
:::
(ขอได้รับความขอบคุณ)
Vanda denisoniana
Vanda pumila
|