สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

 HELICONIACEAE














 

ธรรมรักษา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Heliconia psittacorum    L.f.
วงศ์ :  HELICONIACEAE
ชื่อสามัญ

ชื่ออื่น : พุทธรักษาญี่ปุ่น , เยอรมัน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
:  เป็นพืชล้มลุกข้ามฤดูหรือหลายฤดู เป็นชนิดเล็กที่มีความสูง 0.6 – 2 เมตร ขยายกอเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว  ลำต้นใต้ดินแบบเหง้า (Rhizome) คล้ายขิง ส่วนเหนือดินเรียกว่าลำต้นเทียม ซึ่งประกอบด้วย กาบใบเรียงซ้อนสลับกันคล้ายกาบกล้วย ใบมีลักษณะคล้ายใบกล้วย ลักษณะของกอแบ่งออก เป็น 2 ลักษณะคือ กอแน่น กอลักษณะนี้ เหง้าจะมีข้อชิดกันทำให้หน่อใหม่เกิดชิดโคนต้นเดิมจึงทำให้กอมี ลักษณะแน่น  กอขยายกว้าง กอลักษณะนี้เหง้าจะมีข้อห่างกันทำให้หน่อเกิดใหม่เกิดห่างต้นเดิมกอขยายกว้าง อย่างรวดเร็ว ช่อดอกจะเกิดขึ้นที่กลางลำต้นเทียม ช่อดอกประกอบด้วย ก้านช่อดอก (Peduncle) ก้านต่อระหว่าง ใบประดับ (Rachis) ใบประดับ (Bract) ซึ่งรองรับดอกอยู่ เรียงสลับกันเหมือนรูปเรือ ใบประดับ อาจอยู่ในระนาบเดียวกันหรือต่อกันก็ได้แล้วแต่พันธุ์ ใบประดับมีหลายสี (แดง, ชมพู, เหลือง, และแสด) ภายในกลีบประดับจะมีดอกคล้ายดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกันอยู่แถวเดียว ดอกนี้เรียกว่า ดอกจริง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ ทั้งหมดนี้ จะหลอมติดกันเป็นหลอดภายในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ซึ่งจะเจริญเพียง 5 อัน อีก 1 อันเป็นหมัน รังไข่ อยู่ใต้กลีบเลี้ยงและกลีบดอก ภายในมี 3 ช่องเป็นผลนุ่ม เมล็ดคล้ายเมล็ดกล้วย แข็ง ผลสุกมีสี น้ำเงิน ถ้าเป็นชนิดที่มาจากทวีปอเมริกา และมีสีแดงถ้ามาจากหมู่เกาะแปซิฟิก
        เนื่องจากช่อดอกตั้งมีลักษณะคล้ายปักษาสวรรค์ (Strlitzia regimae หรือ Bird of paradise) จึงมีการเรียกชื่อผิดอยู่เสมอ ธรรมรักษาชนิดนี้มีหลายพันธุ์ เช่น แซสซี (Sassy – สีชมพูโคนสีครีม) , เลดี้ได (Lady di – สีแดงเข้ม) , ฟูเซีย (Fuchsia – สีแดงม่วง) , พาราคีท (Parakeet – โคนกลีบประดับสีเหลืองครีม ปลายสีแดงหรือชมพู) และลูกผสมของซิตาคอรัม เช่น โกลเดนทอร์ซ (Golden Torch – สีเหลือง) ซึ่งนิยมปลูกตัดดอกขายในปัจจุบันเพราะมีกลีบดอกหนา และสีสดใส ลักษณะอวบน้ำยืนต้น (Herbaceous Perenial)
การกระจายพันธุ์ : ตามธรรมชาติจะพบ ตั้งแต่ Tropic of Cancer ในตอนกลางของประเทศเม็กซิโก จนถึง Tropic of Capicorn ในอเมริกาใต้ และรวมทั้งเกาะในแถบแคริบเบียน ธรรมรักษาส่วนมากจะพบในเขตชื้นหรือแฉะแต่ก็พบบ้างในบริเวณที่มีช่วงแล้ง ระดับความสูงที่พบนั้นพบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึง 1,800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แต่จะเจริญได้สมบูรณ์ที่สุดที่ระดับต่ำกว่า 460 เมตร นอกจากนี้ยังพบธรรมรักษาในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ จากหมู่เกาะซามัว ไปจนถึงเกาะซาลาเวซี ซึ่งอยู่กลางหมู่เกาะอินโดนีเซีย ปัจจัยยังไม่ทราบว่าการกระจายพันธุ์จากทวีปอเมริกาไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เมื่อหลายล้านปีก่อน เกิดขึ้นโดยวิธีใด ปัจจุบันความนิยมปลูกธรรมรักษามีมากขึ้น จึงพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อนของโลก รวมทั้งในแอฟริกาและเอเซียด้วย
ประโยชน์ :  เป็นไม้ประดับแล้ว